แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีนี้ทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท โจทก์ฎีกาโต้แย้ง ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกา ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ไม่รับฎีกาโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด
โจทก์เห็นว่า โจทก์ฎีกาเรื่องการนำรถยนต์ของทางราชการ ไปซ่อมไม่จำเป็นต้องได้รับการมอบหมายหรือแต่งตั้ง เป็นหนังสือก่อน การมอบหมายหรือไม่ก็เหมือนกับการมอบอำนาจ หรือไม่ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ทั้งจำเลยที่ 1เป็นกรม ในรัฐบาลปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ ขัดกับความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของโจทก์ ไว้พิจารณาต่อไปด้วย
หมายเหตุ จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน58,257 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่วันที่ 27 มกราคม 2532 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 104)
โจทก์จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 105)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ไปซ่อมโดย ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และไม่ได้รับการมอบหมายหรือความยินยอม ของจำเลยที่ 1 ดังที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมานั้น จำเลยที่ 1 ยังจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงให้รับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป