แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า จำเลยยื่นฎีกา ภายในกำหนดเวลาที่ศาลอนุญาต แต่ฎีกาของจำเลยเป็นการ โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริง เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ศาลไม่รับฎีกาของจำเลย จำเลยเห็นว่า จำเลยฎีกาว่า โจทก์ทราบเรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่มิได้แจ้งความร้องทุกข์เพื่อ ดำเนินคดีภายในสามเดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัว ผู้กระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์จึง ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้ว ฎีกาข้อ 3 ของจำเลยว่า คดีนี้ขาดอายุความแล้วหรือไม่ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลย ไว้พิจารณาต่อไปด้วย หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 83) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษ จำคุกกรรมละ 1 เดือน รวมจำคุก 7 เดือน กับให้จำเลยคืน หรือใช้เงินจำนวน 17,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว (อันดับ 71) จำเลยจึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 83)
คำสั่ง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหาย ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนยังไม่พ้นกำหนดสามเดือนนับแต่ วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ ไม่ขาดอายุความ จำเลยฎีกาว่า ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัว ผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นการฎีกาโต้เถียง การใช้ดุลพินิจใน การวินิจฉัยพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกา ของจำเลยชอบแล้ว ยกคำร้อง