คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2478

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คำว่า”ผู้รับจำนำ” ตามความใน ม.22 นั้น หมายความฉะเพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำจัดการโรงรับจำนำรับจำนำทรัพย์ซึ่งเป็นของร้ายไว้โดยได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานให้ทราบ แม้เจ้าของโรงรับจำนำไม่ทราบ เจ้าของโรงรับจำนำก็ต้องมีผิดตาม ม.22-+ แต่ผู้จัดการไม่ต้องรับผิดชอบ ประมวลวิธีพิจารณาอาญา + 213 ที่มีจำเลยหลายคนแม้คนไม่ฎีกาขึ้นมา ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุในลักษณะของจำเลยคนนั้นไม่มีผิดก็+ษาปล่อยตัวไปได้

ย่อยาว

ได้ความว่าจำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของโรงรับจำนำ จำเลยที่ ๒ เป็นผู้จัดการได้รับจำนำแตรกับบี่ไว้จากผู้มีชื่อ แตรรายนี้เป็น+ของเจ้าทรัพย์มีผู้เช่าไปแล้วไม่ส่งคืนเจ้าทรัพย์จึงไปแจ้งต่อตำรวจ ๆ ได้ส่งบัญชีรูปพรรณของหายไปยังโรงรับจำนำจำเลย จำเลยที่ ๒ ตรวจพบแตรของกลางแล้วไม่ได้แจ้งความต่อตำรวจ แลจำเลยที่ ๑ ก็ไม่ทราบการกระทำของจำเลยที่ ๒ ดังนี้โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง ๒ ตาม พ.ร.บ.โรงรับจำนำ ม.๒๒-๒๖
ศาลเดิมตัดสินว่าจำเลยทั้ง ๒ มีผิดตามกฎหมายดังโจทก์อ้าง ให้ปรับคนละ ๘๐ บาท
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมิได้สมคบกันจำเลยที่ ๑ ยังไม่ควรมีผิด พิพากษาให้ปล่อยจำเลยที่ ๑ ไป
ศาลฎีกาเห็นว่าตาม พ.ร.บ.นี้แลข้อความใน ม.๕ คำว่า ผู้รับจำนำตาม ม.๒๒ นั้นหมายถึงผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำแลตาม ม.๒๒ ก็ระบุหน้าที่ความรับผิดของผู้รับจำนำเรื่องทรัพย์ที่หายตรงกับทรัพย์ที่รับจำนำไว้ให้ผู้รับจำนำแจ้งต่อตำรวจ การที่จำเลยที่ ๑ ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนจึงต้องมีความผิดตาม ม.๒๒ ส่วนจำเลยที่ ๒ เป็นแต่เพียงผู้จัดการ มิใช่ผู้รับจำนำจึงไม่ตกอยู่ในความรับผิดตาม ม.๒๒ แม้จำเลยที่ ๒ จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ก็เป็นเหตุอยู่ในลักษณคดี ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ จึงพิพากษาให้ปรับจำเลยที่ ๑ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ ๒ ไม่มีผิดให้ปล่อยตัวไป

Share