แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยที่ 2 ขอให้ศาลสั่งปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกาโดยผู้ขอประกันได้เสนอบัญชีทรัพย์มาพร้อมกับคำร้องแล้ว
หมายเหตุ คดีทั้งสองสำนวนนี้ โจทก์เป็นบุคคลเดียวกัน จำเลยในสำนวนหลังเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่ 2 ในสำนวนแรก โจทก์ฟ้องเป็นทำนองเดียวกันขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัตว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ฯลฯศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องคดีทั้งสองสำนวนแล้ว เห็นว่าคดีมีมูลจึงมีคำสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา
ระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นรวมพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2447 มาตรา 3 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91 จำเลยที่ 1 ออกเช็ค 3 ฉบับผิด 3 กระทง เช็คฉบับแรกสั่งจ่ายเงิน 180,000 บาท ปรับ 10,000 บาทฉบับที่ 2 จำนวนเงิน 225,000 บาท ปรับ 20,000 บาท ฉบับที่ 3จำนวนเงิน 110,000 บาท ปรับ 10,000 บาท รวมค่าปรับ 40,000 บาทจำเลยที่ 2 ออกเช็ค 4 ฉบับ ผิด 4 กระทงจำคุกกระทงละ 1 ปี สำหรับเช็ค 3 ฉบับในสำนวนคดีดำที่ ข.5090/2530 แดงที่ ข.6192/2530จำคุก 6 เดือน สำหรับเช็ค 1 ฉบับในสำนวนคดีดำที่ ข.5048/2533แดงที่ ข.6412/2500 รวมโทษจำคุก จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นจำคุก3 ปี 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษกึ่งหนึ่ง จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 1ปรับ 20,000 บาท ฯลฯ นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษในคดีอาญาแดงที่ข.4189/2531 และแดงที่ ข.4146/2531 ของศาลนี้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าว (สำนวนธุรการ อันดับ 44)
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยตีราคาประกันทั้งสองสำนวน 210,000 บาท (สำนวนธุรการ อันดับ 30)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ทั้งจำเลยยังไม่ได้ยื่นฎีกามา ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะปล่อยชั่วคราวไม่อนุญาต ให้ยกคำร้อง