แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ใบมอบอำนาจของโจทก์มอบอำนาจให้กระทำการหลายครั้งโดยมีผู้รับมอบอำนาจสองคน เชื่อมด้วยสันธาน “และ/หรือ” หมายความว่ามอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยอาจร่วมกระทำการหรือกระทำกิจการแยกกันก็ได้ จึงอยู่ในบังคับทั้งข้อ 7(ข)และ(ค) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ต้องปิดแสตมป์ตามข้อ 7(ค) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าคำนวณได้เป็นเงิน 60 บาท โจทก์ปิดแสตมป์มาเพียง 30 บาท เป็นการไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 โจทก์จะใช้ใบมอบอำนาจฉบับนี้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ประเด็นว่า ท. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ โจทก์นำสืบด้วยพยานหลักฐานอื่นนอกจากใบมอบอำนาจได้ แต่ประเด็นว่าตราประทับในหนังสือมอบอำนาจเป็นตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โจทก์จำเป็นต้องใช้ใบมอบอำนาจเป็นพยานเพื่อการเปรียบเทียบตราประทับในใบมอบอำนาจกับตราสำคัญที่จดทะเบียนไว้ เมื่อใบมอบอำนาจต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน การที่โจทก์จะนำสืบโดยวิธีเปรียบเทียบย่อมกระทำไม่ได้ รับฟังไม่ได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำโดยชอบ ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้การปฏิเสธในเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเท่ากับว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับว่ามีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยถูกต้องโจทก์ไม่ต้องพิสูจน์การมอบอำนาจ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ได้ เพราะเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะฟ้องเฉพาะผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ด้วยได้ แม้ผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงิน5,827,813.56 บาท พร้อมค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปีในต้นเงิน 4,373,942.04 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จถ้าจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 ไม่ชำระหรือชำระไม่ครบ ให้จำเลยที่ 3 ชำระแทนจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 3,000,000 บาท พร้อมค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวน4,373,942.04 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ถึงกำหนดชำระค่าสินค้า ดังนี้ นับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2537ของต้นเงิน 45,772.46 บาท นับตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2537 ของต้นเงิน145,401.11 บาท นับตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2537 ของต้นเงิน364,429.16 บาท นับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2537 ของต้นเงิน186,489.98 บาท นับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2537 ของต้นเงิน247,875.77 บาท นับตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2537 ของต้นเงิน320,365.70 บาท นับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2537 ของต้นเงิน258,670.47 บาท นับตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2537 ของต้นเงิน147,276.83 บาท นับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2537 ของต้นเงิน316,061.74 บาท นับตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2537 ของต้นเงิน151,863.17 บาท นับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2537 ของต้นเงิน319,638.96 บาท นับตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2537 ของต้นเงิน153,354.33 บาท นับตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2537 ของต้นเงิน194,356.51 บาท นับตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2537 ของต้นเงิน367,297.19 บาท นับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2537 ของต้นเงิน166,457.76 บาท นับตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2537 ของต้นเงิน77,656.32 บาท นับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2537 ของต้นเงิน147,927.29 บาท นับตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2537 ของต้นเงิน167,859.89 บาท นับตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2537 ของต้นเงิน162,182.47 บาท นับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2537 ของต้นเงิน161,473.81 บาท นับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2537 ของต้นเงิน166,495.64 บาท นับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2537 ของต้นเงิน105,035.48 บาท เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1ที่ 2 ไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้แทน โดยให้รับผิดในต้นเงิน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2539 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้งสามฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่าใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเอกสารหมาย จ.2 ปิดแสตมป์บริบูรณ์หรือไม่ใบมอบอำนาจดังกล่าวมีข้อความว่า “โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าบริษัทโนมูระเทรดดิ้ง (ไทย) จำกัด โดยนายทาคาโอะ โนดะ กรรมการผู้มีอำนาจขอมอบอำนาจให้นายประเสริฐ ภัครเจริญชัย และ/หรือนายสุรชัยเตรียมชนะ เป็นผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้า โดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง และคดีอาญาต่อศาลที่มีอำนาจกับบริษัทเอส.เอ็น.วี.เมทอล (1986) จำกัด ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)สาขาสำเพ็ง และนายสมชาย เอื้อเกษมสิน จนคดีถึงที่สุด และในการนี้ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดังต่อไปนี้” ฯลฯ ข้อความเช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการได้กว้างมาก โดยให้มีอำนาจกระทำการได้มากมายหลายครั้งกล่าวคือ ฟ้องคดีแพ่งได้หลายคดี และยังฟ้องคดีอาญาได้อีกหลายคดีทั้งผู้ถูกฟ้องที่ระบุไว้ 3 ราย อาจถูกฟ้องแยกคดีจากกันได้ด้วย ในส่วนของผู้รับมอบอำนาจมี 2 คน เชื่อมด้วยสันธาน “และ/หรือ” แสดงว่า “และ” ก็ได้”หรือ” ก็ได้ กรณี “และ” หมายความว่า 2 คนร่วมกันกระทำต้องด้วยข้อ 7(ข)ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีความว่า”มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว”ต้องปิดแสตมป์ 30 บาท กรณี “หรือ” ย่อมกระทำแยกกันได้ คือ นายประเสริฐอาจฟ้องคดีหนึ่ง นายสุรชัยอาจฟ้องอีกคดีหนึ่ง จึงต้องด้วยข้อ 7(ค)ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ดังกล่าว ซึ่งมีความว่า “มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้”ต้องปิดแสตมป์ตามรายตัวบุคคลที่รับมอบ คนละ 30 บาท ผู้รับมอบ 2 คนก็ต้องปิดแสตมป์ 60 บาท ข้อความในใบมอบอำนาจของโจทก์ไม่อาจตีความว่าเมื่อนายประเสริฐกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนแล้ว นายสุรชัยจะกระทำการใด ๆ ไม่ได้เลย หรือเมื่อนายสุรชัยกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนแล้ว นายประเสริฐจะกระทำการใด ๆ ไม่ได้เลย กล่าวคือ กรณีเชื่อมด้วย”หรือ” หาได้มีความหมายว่า คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจเพียงคนเดียวสุดแต่ผู้รับมอบอำนาจจะเลือกในระหว่างกันเอง เมื่อวินิจฉัยดังนี้ ใบมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 จึงอยู่ในบังคับทั้งข้อ 7(ข) และ (ค) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ต้องปิดแสตมป์ตามข้อ 7(ค) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่า คำนวณได้เป็นเงิน 60 บาท โจทก์ปิดแสตมป์มาเพียง 30 บาท เป็นการไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามนิยามในประมวลรัษฎากร มาตรา 103 โจทก์จะใช้ใบมอบอำนาจฉบับนี้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ไม่ได้ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 118 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การต่อสู้ในเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีว่านายทาคาโอะ โนดะ ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์ในขณะทำหนังสือมอบอำนาจและตราประทับในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ จึงเกิดภาระแก่โจทก์ที่ต้องนำสืบพิสูจน์ว่าการมอบอำนาจกระทำโดยชอบแล้ว เห็นว่า กรณีนายทาคาโอะ โนดะใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่ โจทก์ย่อมนำสืบด้วยพยานหลักฐานอื่น ใบมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ปัญหาข้อนี้ แต่กรณีตราประทับในหนังสือมอบอำนาจใช่ตราสำคัญของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โจทก์จำเป็นต้องใช้ใบมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 เป็นพยาน เพื่อการเปรียบเทียบตราประทับในใบมอบอำนาจกับตราสำคัญที่จดทะเบียนไว้ เมื่อใบมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานเสียแล้ว การที่โจทก์จะนำสืบโดยวิธีเปรียบเทียบดังกล่าวย่อมกระทำไม่ได้ และตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.1 มีเงื่อนไขว่าการกระทำในนามโจทก์จะต้องประทับตราสำคัญด้วย ส่งผลให้รับฟังไม่ได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำโดยชอบแล้วการที่นายประเสริฐผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้แต่งนายบรรพตไชยนันทน์ เป็นทนายความ แล้วนายบรรพตลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3ไม่ได้ให้การปฏิเสธในเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเท่ากับว่าจำเลยที่ 3ยอมรับว่ามีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยถูกต้องแล้ว โจทก์ไม่จำต้องพิสูจน์ใด ๆ เกี่ยวกับการมอบอำนาจแม้จะมีผลเป็นว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798เนื่องจากใบมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 รับฟังเป็นพยานไม่ได้ ก็ไม่ทำให้การที่นายประเสริฐฟ้องจำเลยที่ 3 แทนโจทก์เสียไป เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้วเท่ากับว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้ร่วม แต่ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ โดยจำเลยที่ 1 ที่ 3 ผิดนัดแล้ว คดีมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ฟ้องเช่นนี้ได้หรือไม่ เห็นว่า เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะฟ้องเฉพาะผู้ค้ำประกันโดยไม่ฟ้องลูกหนี้ด้วยได้ แม้ผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ก็ตาม ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ฟังขึ้น ฎีกาของจำเลยที่ 3ฟังไม่ขึ้น”
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงิน 3,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 7 มิถุนายน2539) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2ให้จำเลยที่ 3