แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
สัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็น ส่วนหนึ่งของคำพิพากษาจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ฉบับ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 โดยเฉพาะสัญญา ข้อ 4 ความ ว่า จำเลย ตกลง จะ โอน กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สิน ส่วนกลางของ อาคารชุด เทเวศร์แมนชั่น ได้ แก่ ที่จอดรถ จำนวน 57 คัน ห้อง อบ ไอน้ำ ซาวด์น่า ห้องโถง ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้องพัก ผ่อนให้ แก่ นิติบุคคล อาคารชุด เทเวศร์แมนชั่น ใน สภาพ เรียบร้อย ภายใน วันที่ 31 ธันวาคม 2537 โดย จำเลย รับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย และ ค่าธรรมเนียมใน การ โอน แต่เพียง ผู้เดียว หาก ไม่ปฏิบัติ ตามยอม ใช้ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ อีก ต่างหาก เป็น เงิน 350,000 บาท ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2537
จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง แก้ไข สัญญา ประนีประนอม ยอมความอ้างว่า มี ข้อผิดพลาด เล็กน้อย หรือ มี ข้อ ผิดหลง เล็กน้อย โดย แก้ จาก”ที่จอดรถ ยนต์ จำนวน 57 คัน ” เป็น ว่า “ที่จอดรถ ” ตัด”ห้อง ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้องพัก ผ่อน ” ออก ไป และ เพิ่มเติม”ห้อง ออกกำลังกาย ” เข้า ไป แทน
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้อง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นว่า ข้อเท็จจริง ฝ่าย จำเลย จะ มี อยู่อย่างไร ย่อม เป็น หน้าที่ ของ ทนายความ ของ จำเลย ที่ จะ ตรวจสอบ ก่อน ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ กับ โจทก์ เมื่อ ได้ มี การ ทำ สัญญา ประนีประนอมยอมความ และ ศาล พิพากษา ตามยอม แล้ว ย่อม ผูกพัน จำเลย ตาม นั้นสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดังกล่าว ถือว่า เป็น ส่วน หนึ่ง ของ คำพิพากษาจะ แก้ไข ข้อผิดพลาด ได้ ต่อเมื่อ เป็น ข้อผิดพลาด เล็กน้อย หรือข้อ ผิดหลง เล็กน้อย อื่น ๆ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 วรรคแรก แต่ ข้อ ที่ จำเลย ขอแก้ นั้น เป็น การ ตัด จำนวนที่จอดรถยนต์ และ สถานที่ บางส่วน ออก ไป เพิ่ม สถานที่ ใหม่ เข้า มา แทนซึ่ง เป็น การ เปลี่ยนแปลง จำนวน และ สถานที่ ผิด ไป จาก เดิม มิใช่ ข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือ ข้อ ผิดหลง เล็กน้อย จำเลย ไม่อาจ จะ ขอแก้ไข ได้ ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย กับ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน