คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนพกไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่าอาวุธปืนดังกล่าวไม่ปรากฏหลักฐานใบอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนคดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนนั้นเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา7,72วรรคสามมิใช่มาตรา7,72วรรคแรกและเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2537 เวลา กลางคืนก่อน เที่ยง จำเลย กระทำผิด ต่อ กฎหมาย หลายกรรม กล่าว คือ จำเลย มีอาวุธปืน พก สั้น ชนิด ออโตเมติก ขนาด .38 ซุปเปอ ร์ จำนวน 1 กระบอก เครื่องกระสุนปืน ขนาด .38 จำนวน 4 นัด และ แม็กกาซีน 1 อัน ไว้ ใน ครอบครอง ของ จำเลย โดย จำเลย ไม่ได้ รับ ใบอนุญาต จาก นายทะเบียนท้องที่ ตาม กฎหมาย แล้ว ได้ พา อาวุธปืน และ เครื่องกระสุนปืน ดังกล่าวติดตัว ไป ใน เมือง หมู่บ้าน และ ตาม ถนน ซอย นวลจันทร์ อันเป็น ทาง สาธารณะ โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต ให้ มี อาวุธปืน ติดตัว และ ไม่มี เหตุสมควร กับไม่เป็น กรณี ที่ ต้อง มี อาวุธปืน ติดตัว เมื่อ มีเหตุ จำเป็น หรือ เร่งด่วนตาม สมควร แก่ พฤติการณ์ เหตุ เกิด ที่ แขวง คลองกุ่ม เขต บึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงาน ตำรวจ จับกุม จำเลย ได้ พร้อม ด้วย อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน (ซึ่ง หมด ไป กับ การ ทดลอง ยิง ) และ แม็กกาซีน ดังกล่าว เป็น ของกลาง ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ , 72, 72 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371, 91 ริบของกลาง
จำเลย ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคแรก , 72 วรรคแรก , 72 วรรคสามและ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ลงโทษ ตาม มาตรา 72 วรรคแรกจำคุก 2 ปี และ ปรับ 4,000 บาท ความผิด ตาม มาตรา 72 วรรคสามกับ ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 เป็น กรรมเดียวผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 72 วรรคสาม ซึ่ง เป็น บทหนักจำคุก 1 ปี และ ปรับ 2,000 บาท รวม โทษ จำคุก 3 ปี และ ปรับ 6,000 บาทจำเลย ให้การรับสารภาพ มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คง จำคุก 1 ปี 6 เดือน และ ปรับ 3,000 บาทพิเคราะห์ ตาม รายงาน การ สืบเสาะ แล้ว ให้ รอการลงโทษ จำคุก ไว้ มี กำหนด2 ปี โดย ให้ จำเลย ไป รายงาน ตัว ต่อ พนักงานคุมประพฤติ 3 เดือนต่อ หนึ่ง ครั้ง มี กำหนด 1 ปี และ ให้ จำเลย ทำ กิจกรรม บริการ สังคมหรือ สาธารณประโยชน์ ตาม ที่ พนักงานคุมประพฤติ เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30 ริบของกลาง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย อัยการ สูงสุด รับรอง ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ข้อ แรกว่า ศาลล่าง ทั้ง สอง ปรับ บทลงโทษ จำเลย ถูกต้อง หรือไม่ พิเคราะห์ แล้วโจทก์ บรรยายฟ้อง ใน ความผิด ฐาน มี อาวุธปืน พก ไว้ ใน ครอบครอง ว่าจำเลย ได้ บังอาจ มี อาวุธปืน พก ชนิด ออโตเมติก ขนาด .38 ซุปเปอ ร์จำนวน 1 กระบอก เครื่องกระสุนปืน ขนาด .38 จำนวน 4 นัดและ แม็กกาซีน 1 อัน ไว้ ใน ครอบครอง ของ จำเลย โดย จำเลย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก นายทะเบียน ท้องที่ ตาม กฎหมาย โดย ไม่ได้ บรรยายฟ้องว่า มี อาวุธปืน ไม่ปรากฏ หลักฐาน ใบอนุญาต ให้ มี และ ใช้ จาก นายทะเบียนและ เครื่องกระสุนปืน ไว้ ใน ครอบครอง และ พา อาวุธปืน ติดตัว ไป ใน เมืองโดย ไม่ได้ รับ อนุญาต คดี จึง ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า อาวุธปืน ที่ จำเลยมีไว้ ใน ครอบครอง และ พา ไป โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต นั้น เป็น อาวุธปืน มีทะเบียน ของ ผู้อื่น จำเลย จึง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลยมี ความผิด ตาม มาตรา 7, 72 วรรคแรก และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน นั้น จึง ไม่ชอบ ปัญหา ข้อ นี้ แม้ จำเลย จะ ไม่ได้ อุทธรณ์ และ ฎีกาแต่ เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจแก้ไข ให้ ถูกต้อง ได้ ส่วน ที่ ศาลชั้นต้น ปรับ บทความ ผิด ฐาน พา อาวุธปืนและ เครื่องกระสุนปืน ไป โดย ฝ่าฝืน กฎหมาย ว่า จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก , 72 วรรคสามนั้น ไม่ถูกต้อง ที่ ถูก คือ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง , 72 ทวิ วรรคสองศาลฎีกา เห็นสมควร ปรับ บท ให้ ถูกต้อง ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังขึ้น
สำหรับ ปัญหา ที่ ว่า สมควร รอการลงโทษ จำคุก จำเลย หรือไม่ นั้นเห็นว่า จำเลย เป็น เจ้าพนักงาน ตำรวจ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ได้รับ โทษจำคุก มา ก่อน ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ลงโทษ จำคุก แต่ รอการลงโทษ ไว้และ กำหนด เงื่อนไข เพื่อ คุม ความประพฤติ ไว้ ด้วย จึง เหมาะสม แก่ รูปคดีแล้ว ไม่สมควร เปลี่ยนแปลง แก้ไข เป็น อย่างอื่น ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ ขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคแรก , 72 วรรคสาม , 72 ทวิ วรรคสองประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 รวม 2 กระทง นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share