แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์สละการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์และบ้านซึ่งปลูกบนที่ดินดังกล่าว ผ.ภริยาโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแต่เพียงผู้เดียวการที่ ผ. จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทให้แก่จำเลยจึงมีผลสมบูรณ์โจทก์หามีสิทธิขอเพิกถอนได้ไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ กับ นาง ผัน อ่อนน้อย อยู่กิน เป็น สามี ภริยา กัน เมื่อ 60 ปี เศษ มา แล้ว มี บุตร ด้วยกัน 4 คนคือ นาย ประสงค์ อ่อนน้อย นางชม้อยหรือชะม้อย อ่อนน้อย หรือ อ่อนจันทร์ จำเลย และ นาย หน่าย อ่อนน้อย โจทก์ กับ นาง ผัน ทำ มา หา ได้ ทรัพย์สิน ร่วมกัน คือ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. ) เลขที่ 1183 ตำบล ชอนสารเดช อำเภอโคกสำโรง ปัจจุบัน เป็น กิ่งอำเภอ หนองม่วง จังหวัด ลพบุรี เนื้อที่ 19 ไร่ 30 ตารางวา และ บ้าน 2 หลัง คือ บ้าน เลขที่ 55 และ 56 ซึ่ง ปลูกอยู่ บน ที่ดิน ดังกล่าว เมื่อ ประมาณ ปี 2532 จำเลย บังคับ ข่มขู่จะ ฆ่า นาง ผัน และ โจทก์ เพื่อ ให้ นาง ผัน และ โจทก์ ทำการ จดทะเบียน ยกให้ โดยเสน่หา ซึ่ง ที่ดิน แปลง ดังกล่าว โจทก์ เกรงกลัว จึง หนี ไปอยู่อาศัย กับ บุตรสาว โจทก์ ที่ จังหวัด กำแพงเพชร ต่อมา เมื่อ วันที่ 24พฤศจิกายน 2532 จำเลย ทำการ บังคับ ข่มขู่ จะ ฆ่า และ ใช้ กลอุบายหลอกลวง ให้ นาง ผัน ทำการ จดทะเบียน ยก ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย โดยเสน่หา การ จดทะเบียน ยกให้ ดังกล่าว ไม่สมบูรณ์ เพราะครึ่ง หนึ่ง เป็น ของ โจทก์ และ โจทก์ ไม่ได้ ให้ ความ ยินยอม ทั้ง เกิดจากการ ที่ จำเลย บังคับ ข่มขู่ และ ใช้ กลอุบาย หลอกลวง นอกจาก นั้น จำเลย ยังหลอกลวง ให้ นาง ผัน ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน ดังกล่าว ข้างต้น ให้ แก่ จำเลย ต่อมา นาง ผัน ได้ ถึงแก่กรรม เมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2533 ขอให้ เพิกถอน นิติกรรม จดทะเบียน การ ยกให้ และ เพิกถอน พินัยกรรม ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2533 และ บังคับ จำเลย จดทะเบียน ถอน คืน การ ให้ โดยให้ ใส่ ชื่อ โจทก์ ใน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. )เลขที่ 1183 ตำบล ชอนสารเดช กิ่งอำเภอหนองม่วง จังหวัด ลพบุรี เนื้อที่ 19 ไร่ 30 ตารางวา หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอาคำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า เดิม ที่พิพาท เป็น ของนาย ขาวและนางยา ซึ่ง เป็น บิดา มารดา ของ นาง ผัน อ่อนน้อย แล้ว นาย ขาวกับนางยา ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ นาง ผัน จำเลย ไม่เคย ข่มขู่ บังคับ จะ ฆ่า โจทก์ และ นาง ผัน เพื่อ ให้ จดทะเบียน ยก ที่ดิน ดังกล่าว แก่ จำเลย โดยเสน่หา และ มิได้ ข่มขู่ ใช้ อุบาย หลอกลวงให้ นาง ผัน ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย เมื่อ ประมาณ ปี 2500 โจทก์ ไป มี ภริยา ใหม่ โดย บอก ว่า ทรัพย์สิน ทั้งหมด โจทก์ยกให้ ไม่ ยุ่ง เกี่ยว นับแต่ นั้น มา เป็น เวลา 30 ปี เศษ ที่ จำเลย อยู่ กับนาง ผัน ที่ บ้าน เลขที่ 87 หมู่ ที่ 7 ตำบล ชอนสารเดช อำเภอโคกสำโรง จังหวัด ลพบุรี วันที่ 24 พฤศจิกายน 2532 นาง ผัน ได้ จดทะเบียน ยก ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ จำเลย ด้วย ใจ สมัคร หลังจาก นั้น จำเลยได้ อุปการะ เลี้ยงดู นาง ผัน ตลอดมา ครั้น วันที่ 20 มิถุนายน 2533นาง ผัน ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน เลขที่ 55 และ 56 (ปัจจุบัน เป็น เลขที่ 87)หมู่ ที่ 7 ตำบล ชอนสารเดช กิ่งอำเภอหนองม่วง จังหวัด ลพบุรี ให้ จำเลย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ให้ ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 1183 ตำบล ชอนสารเดช กิ่งอำเภอ หนองม่วง จังหวัด ลพบุรี ระหว่าง นาง ผัน อ่อนน้อย กับ จำเลย และ ให้ เพิกถอน พินัยกรรม ของ นาง ผัน อ่อนน้อย ลงวันที่ 20มิถุนายน 2533 เฉพาะ ส่วน ของ โจทก์ ส่วน คำขอ อื่น ให้ยก
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ทางพิจารณา โจทก์ นำสืบ ว่า โจทก์ กับนาง ผัน อยู่กิน ฉัน สามี ภริยา มา 60 ปี เศษ มี บุตร ด้วยกัน รวม 4 คน คือ นาย ประสงค์ อ่อนน้อย นางชม้อย อ่อนน้อยหรืออ่อนจันทร์ จำเลย และ นาย หน่าย อ่อนน้อย ระหว่าง ที่ โจทก์ กับ นาง ผัน อยู่กิน กัน ฉัน สามี ภริยา มี ทรัพย์ ที่ ทำ มา หา ได้ ร่วมกัน คือ ที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 1183ตำบล ชอนสารเดช กิ่งอำเภอหนองม่วง จังหวัด ลพบุรี เนื้อที่ 19 ไร่ 30 ตารางวา และ บ้าน 2 หลัง ปลูก อยู่ บน ที่ดิน ดังกล่าวเมื่อ ปี 2532 จำเลย ขู่เข็ญ จะ ฆ่า โจทก์ และ นาง ผัน เพื่อ ให้ โจทก์ และ นาง ผัน โอน ที่ดิน ให้ จำเลย โจทก์ กลัว จึง ได้ หนี ไป อยู่ กับ นาง ชม้อย อ่อนน้อยหรืออ่อนจันทร์ ที่ จังหวัด กำแพงเพชร หลังจาก ที่นา ง ผัน ได้ ถึงแก่กรรม โจทก์ จึง ทราบ ว่า นาง ผัน ได้ จดทะเบียน ยก ที่ดิน และ ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย โดย โจทก์ไม่ได้ ให้ ความ ยินยอม
จำเลย นำสืบ ว่า โจทก์ ออกจาก บ้าน นาง ผัน ไป มี ภริยาน้อย ตั้งแต่ จำเลย อายุ 10 ปี เศษ ต่อมา ปี 2531 โจทก์ มา ขอ เงิน นาง ผัน จำนวน 3,000 บาท แล้ว บอก ว่า จะ ไม่ ยุ่ง เกี่ยวกับ ที่ดิน และ บ้าน พิพาทจำเลย ได้ อยู่อาศัย กับ นาง ผัน มา ตลอด โดย ประกอบ อาชีพ รับจ้าง ทำไร่ ต่อมา นาง ผัน ได้ จดทะเบียน ยก ที่พิพาท ให้ จำเลย และ ได้ ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน พิพาท ให้ จำเลย
พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ได้ว่า จำเลย เป็น บุตร โจทก์และ นาง ผัน อ่อนน้อย ก่อน ถึงแก่กรรม นาง ผัน ได้ จดทะเบียน ยก ที่พิพาท และ ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน พิพาท ให้ แก่ จำเลย คดี มี ข้อ วินิจฉัยตาม ฎีกา โจทก์ ว่า ที่นา ง ผัน จดทะเบียน ยก ที่พิพาท ให้ แก่ จำเลย ก็ ดี และ ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน พิพาท ให้ แก่ จำเลย ก็ ดี มีผล ผูกพัน โจทก์หรือไม่ พยานโจทก์ คือ นาง ชม้อย อ่อนน้อยหรืออ่อนจันทร์ นายอิ่ม อ่อนจันทร์ นางเสมอ พูลเพียร และนางสาวบังอร อ่อนจันทร์ ต่าง เบิกความ ยืนยัน ว่า โจทก์ อยู่กิน กับ นาง ผัน ฉัน สามี ภริยา มา นาน 60 ปี เศษ โดย ประกอบ อาชีพ ทำไร่ ข้าวโพด และ ไม่เคย แยก กัน อยู่มี ทรัพย์สิน ที่ ทำ มา หา ได้ ร่วมกัน คือ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ตาม ฟ้องเห็นว่า โจทก์ ไม่ได้ มา เบิกความ ยืนยัน ว่า ไม่ได้ แยก กัน อยู่ กับ นาง ผัน ส่วน นาง ชม้อย เป็น บุตร โจทก์ นาย อิ่ม เป็น สามี ของ นาง ชม้อย นาง เสมอและนางสาวบังอร ต่าง เป็น บุตร ของ นาง ชม้อยและนายอิ่ม ถือได้ว่า ต่าง มี ส่วนได้เสีย กับ โจทก์ มี ข้อ น่า ระแวง ว่า น่า จะเบิกความ เข้าข้าง โจทก์ ประกอบ กับ นาง ชม้อยและนายอิ่ม เบิกความ แตกต่าง กัน กล่าว คือ นาง ชม้อย ว่า ส่ง นาง เสมอและนางสาวบังอร ไป ช่วย โจทก์ และ นาง ผัน ทำไร่ เพียง ปีเดียว แต่ นาย อิ่ม ว่า ส่ง ไป ช่วย ทุก ปี ตั้งแต่ ปี 2522 เป็นต้น ไป ที่นา ง ชม้อยและนายอิ่ม เบิกความ แตกต่าง กัน ดังกล่าว ถือได้ว่า เป็น ข้อ พิรุธ ส่วน ฝ่าย จำเลยได้ความ จาก คำเบิกความ ของ จำเลย ว่า โจทก์ ได้ ออกจาก บ้าน ไป อยู่ กับภริยาน้อย ที่ จังหวัด อุบลราชธานี ตั้งแต่ จำเลย อายุ ประมาณ 10 ปีจำเลย อยู่ กับ นาง ผัน ตลอดมา จน กระทั่ง เมื่อ ประมาณ 15 ปี มา นี้ นาง ผัน ทำ มา หากิน ไม่ได้ เพราะ ชรา จำเลย จึง ได้ เป็น ผู้อุปการะ เลี้ยงดู นาง ผัน โดย ประกอบ อาชีพ ทำไร่ และ รับจ้าง โดย จำเลย มี นาย ชู สมนา ซึ่ง เป็น เพื่อนบ้าน และ นาย พุทธา พันธะ ซึ่ง เป็น ผู้ใหญ่บ้าน มา เบิกความ สนับสนุน ว่า โจทก์ กับ นาง ผัน ไม่ได้ อยู่ ด้วยกัน คง มี แต่ จำเลย เท่านั้น ที่อยู่ กับ นาง ผัน ที่ บ้าน พิพาท และ จำเลย เป็น ผู้ทำ กิน ใน ที่พิพาท เห็นว่า ทั้ง นาย ชูและนายพุทธา ถือได้ว่า เป็น พยาน คนกลาง ไม่มี ส่วนได้เสีย กับ ฝ่ายใด แม้ จะ เป็น พยาน นำมิใช่ พยาน หมาย ดัง ที่ โจทก์ ฎีกา คำเบิกความ มี น้ำหนัก ควร แก่ การรับฟัง ได้ไม่ ยิ่งหย่อน กว่า กัน และ แม้ นาง เปล่ง ภริยา จำเลย จะ ไม่ได้ เบิกความ ถึง ความ ข้อ นี้ ดัง ที่ โจทก์ ฎีกา ก็ ตาม พยานหลักฐาน จำเลยมี น้ำหนัก น่าเชื่อ ดีกว่า พยานหลักฐาน โจทก์ กรณี ฟัง ไม่ได้ ว่าโจทก์ กับ นาง ผัน ไม่ได้ แยก กัน อยู่ ดัง ที่ โจทก์ นำสืบ แต่ ฟังได้ ว่า โจทก์ แยก จาก นาง ผัน ไป อยู่ กับ ภริยาน้อย ดัง ที่ จำเลย นำสืบ ได้ความ จาก คำเบิกความ ของ จำเลย และ นาง เปล่ง ต้อง กัน ว่า เมื่อ ปี 2531โจทก์ ได้ มา ขอ เงิน นาง ผัน 3,000 บาท แล้ว โจทก์ บอก ว่า จะ ไม่ ขอ ยุ่ง เกี่ยวกับ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท อีก ต่อไป โจทก์ ฎีกา ว่า คำเบิกความของ จำเลย และ นาง เปล่ง ไม่น่าเชื่อถือ เพราะ เบิกความ แตกต่าง ขัด กัน กล่าว คือ จำเลย ว่า โจทก์ มา ขอ เงิน นาง ผัน แต่ นาง ผัน สั่ง ให้ จำเลย มอบ เงิน ให้ โจทก์ จำเลย จึง ได้ มอบ เงิน ให้ โจทก์ ไปส่วน นาง เปล่ง ว่า โจทก์ มา ขอ เงิน จาก ตน ตน จึง ได้ มอบ เงิน ให้ โจทก์ ไป เห็นว่า จำเลย และ นาง เปล่ง เบิกความ ต้อง กัน ว่า นาง ผัน เป็น คน บอก ให้ มอบ เงิน ให้ แก่ โจทก์ ดังนี้ โจทก์ จะ มา ขอ เงิน จาก นาง ผัน หรือ ขอ จาก นาง เปล่ง และ จำเลย หรือ นาง เปล่ง ใคร เป็น คน มอบ เงิน ให้ แก่ โจทก์ จึง ไม่ใช่ ข้อแตกต่าง ที่ เป็น สาระสำคัญ เพราะ จำเลย กับนาง เปล่ง เป็น สามี ภริยา กัน กรณี ฟังได้ ว่า โจทก์ มา ขอ เงิน จาก นาง ผัน 3,000 บาท แล้ว บอก ว่า จะ ไม่ ขอ ยุ่ง เกี่ยวกับ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท อีก ต่อไป ดัง ที่ จำเลย นำสืบ พฤติการณ์ ของ โจทก์ ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ สละ การ ครอบครอง ที่ดิน และ บ้าน พิพาท แล้ว ตั้งแต่ บัดนั้นหลังจาก นั้น นาง ผัน จึง เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน และ บ้าน พิพาท แต่เพียง ผู้เดียว โจทก์ หา มีสิทธิ ครอบครอง ร่วม ด้วย ไม่ ดังนี้การ ที่นา ง ผัน จดทะเบียน ยก ที่พิพาท ให้ แก่ จำเลย ก็ ดี และ ทำ พินัยกรรม ยก บ้าน พิพาท ให้ แก่ จำเลย ก็ ดี จึง มีผล สมบูรณ์ โจทก์ หา มีสิทธิขอ เพิกถอน ได้ไม่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน