คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คณะกรรมการสอบสวนซึ่งโจทก์ที่2แต่งตั้งให้สอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบได้ทำการสอบสวนและรายงานผลการสอบสวนต่อผู้แทนของโจทก์ที่2สรุปว่าจำเลยที่1เท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการละเมิดจึงจะถือว่าโจทก์ที่2รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่2ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าวหาได้ไม่แต่ถือว่าโจทก์ทั้งสองรู้ตัวจำเลยที่2ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกรมอัยการมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าสมควรจะฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่2รับผิดชอบร่วมกับจำเลยที่1ด้วยเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่ทราบหนังสือของกรมอัยการดังกล่าวคดีสำหรับจำเลยที่2จึงไม่ขาดอายุความ ปัญหาว่าจำเลยที่2ต้องรับผิดฐานละเมิดหรือไม่เพียงใดนั้นศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยเพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลทั้งผลการวินิจฉัยของศาลล่างอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิในการฎีกาของคู่ความศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น นิติบุคคล มี ฐานะ เป็น กรม ใน รัฐบาลสังกัด กระทรวงมหาดไทย โจทก์ ที่ 2 เป็น นิติบุคคล ตาม พระราชบัญญัติระเบียบ บริหาร ราชการ ส่วน จังหวัด พ.ศ. 2498 มาตรา 5 จำเลย ที่ 1เป็น ข้าราชการ ส่วน จังหวัด ดำรง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงิน และ บัญชี 3รักษา การ หัวหน้า หมวด การเงิน ส่วน เร่งรัด พัฒนา ชนบทจังหวัด นครศรีธรรมราช มี หน้าที่ รับผิดชอบ เกี่ยวกับ การ รับ เงินการ เบิกจ่าย เงิน การ ฝากเงิน และ การ เก็บรักษา เงิน ให้ ถูกต้องตาม ระเบียบ ของ ทางราชการ และ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ใต้บังคับบัญชา ของ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง รับ ราชการ สังกัด โจทก์ ที่ 1 ดำรง ตำแหน่ง เร่งรัดพัฒนา ชนบท จังหวัด นครศรีธรรมราช และ ทำ หน้าที่ หัวหน้า ส่วน เร่งรัดพัฒนา ชนบท จังหวัด นครศรีธรรมราช ของ โจทก์ ที่ 2 อีก ตำแหน่ง หนึ่งระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม 2522 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2524 จำเลย ที่ 1ได้ เบียดบัง ยักยอก เงิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ได้รับ มาครอบครอง ไว้ ใน หน้าที่ หลาย ครั้ง เป็น เงิน ทั้งสิ้น 199,590 บาทจำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น หัวหน้า ส่วน เร่งรัด พัฒนา ชนบทจังหวัด นครศรีธรรมราช มี หน้าที่ ควบคุม ดูแล การ ปฏิบัติงาน ของ จำเลยที่ 1 ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความประมาท เลินเล่อ เพิกเฉย ละเลยไม่ ตรวจสอบ งาน การเงิน และ การบัญชี ของ จำเลย ที่ 1 เป็นเหตุ ให้ โจทก์ได้รับ ความเสียหาย จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 รับผิดชดใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าว ด้วย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน199,590 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ
จำเลย ที่ 2 ให้การ ต่อสู้ หลาย ประการ รวมทั้ง ต่อสู้ ว่าคดี โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 ขาดอายุความ เพราะ ฟ้อง เกิน กำหนด 1 ปีนับแต่ วันที่ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้ จะ ต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำ ละเมิด ยักยอก เงินของ โจทก์ ทั้ง สอง จำนวน 199,590 บาท ส่วน คดี สำหรับ จำเลย ที่ 2ขาดอายุความ พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าวพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ยกฟ้อง จำเลย ที่ 2
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำ ละเมิดยักยอก เงิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง ไป หลาย ครั้ง หลาย รายการ โจทก์ ที่ 2ได้ แต่งตั้ง คณะกรรมการ สอบสวน หา ตัว ผู้รับผิดชอบ ทางแพ่งและ ร้องทุกข์ ให้ ดำเนินคดี อาญา แก่ จำเลย ที่ 1 เมื่อ ปี 2524 และ โจทก์ได้ ส่ง เรื่อง ให้ กรมอัยการ ดำเนินคดี ฟ้อง เรียก ให้ จำเลย ที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย ตาม ความเห็น ของ คณะกรรมการ สอบสวน กรมอัยการพิจารณา แล้ว มี ความเห็น และ แจ้ง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ทราบ ว่า จำเลย ที่ 2จะ ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 ด้วย คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า คดีโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 ขาดอายุความ ฟ้องร้อง หรือไม่ เห็นว่า แม้คณะกรรมการ สอบสวน ซึ่ง โจทก์ ที่ 2 มี คำสั่ง แต่งตั้ง ให้ ทำการ สอบสวน หาตัว ผู้รับผิดชอบ ได้ ทำการ สอบสวน และ รายงาน ผล การ สอบสวน ต่อ ผู้ ว่าราชการ จังหวัด นครศรีธรรมราช ผู้แทน ของ โจทก์ ที่ 2 เมื่อ วันที่ 3ธันวาคม 2524 ก็ ตาม แต่ ก็ ปรากฏ ผล ของ การ สอบสวน สรุป ว่า เฉพาะจำเลย ที่ 1 เท่านั้น เป็น ผู้รับผิดชอบ ใน การ ละเมิด จึง จะ ถือว่า โจทก์ที่ 2 ได้ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว จำเลย ที่ 2 ผู้จะพึง ต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทน ตั้งแต่ วัน ดังกล่าว หาได้ไม่ ถือว่า โจทก์ ทั้ง สอง เพิ่งรู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน เมื่อกรมอัยการ มี หนังสือ แจ้ง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ทราบ ใน เดือน กุมภาพันธ์ 2531ว่า สมควร ที่ จะ ฟ้อง เรียกร้อง ให้ จำเลย ที่ 2 รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ความเสียหาย ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 เมื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง จำเลย ที่ 2ภายใน 1 ปี นับแต่ ทราบ หนังสือ ของ กรมอัยการ ดังกล่าว คดี โจทก์ทั้ง สอง สำหรับ จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ขาดอายุความ ฟ้องร้อง
ส่วน ปัญหา ที่ ว่า จำเลย ที่ 2 ต้อง รับผิด ฐาน ละเมิด หรือไม่เพียงใด นั้น เห็นว่า ศาลล่าง ทั้ง สอง ยัง มิได้ วินิจฉัย มา แม้ คู่ความจะ ได้ นำสืบ ข้อเท็จจริง มา เสร็จสิ้น เป็น การ เพียงพอ ที่ ศาลฎีกา จะวินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ไป เสีย เอง ได้ ก็ ตาม แต่ เห็นว่า เพื่อ ให้ คดีเป็น ไป ตามลำดับ ชั้น ศาล ทั้ง ผล การ วินิจฉัย ของ ศาลล่าง อาจ นำ ไป สู่การ จำกัดสิทธิ การ ฎีกา ของ คู่ความ เห็นสมควร ย้อนสำนวน ให้ ศาลชั้นต้นพิจารณา พิพากษา ปัญหา ดังกล่าว
พิพากษายก คำพิพากษา ของ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณาพิพากษา ว่า จำเลย ที่ 2 ต้อง รับผิด ฐาน ละเมิด หรือไม่ เพียงใด ต่อไปตาม รูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียม สำหรับ โจทก์ กับ จำเลย ที่ 2 ทั้ง สามศาล ให้ ศาลชั้นต้น รวม สั่ง เมื่อ มี คำพิพากษา ใหม่

Share