คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติญญัติจราจรทางบก(ฉบับที่4)พ.ศ.2535มาตรา30เป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา160ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43(1)(2)(5)หรือ(8)และมาตรา78เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43(1)(2)(5)หรือ(8)และมาตรา78มาด้วยจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก(ฉบับที่4)พ.ศ.2535มาตรา30

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4), 157พระราชบัญญัติ จราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 มาตรา 27, 30
จำเลย ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4),157 พระราชบัญญัติ จราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 มาตรา 27, 30ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ซึ่ง เป็น บทที่ หนัก ที่สุดให้ จำคุก 6 เดือน จำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณามีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78จำคุก 3 เดือน
จำเลย อุทธรณ์ ขอให้ รอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ปรับ บทลงโทษ จำเลยใน ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535มาตรา 30 มา ด้วย นั้น เห็นว่า โจทก์ มิได้ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลยใน ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(1)(2)(5)หรือ (8) และ มาตรา 78 มา ด้วย ดังนั้น ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ปรับ บทลงโทษจำเลย ตาม ความใน มาตรา ดังกล่าว จึง ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกา ชอบ ที่ จะ ปรับบทลงโทษ จำเลย ให้ ถูกต้อง ได้
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ไม่ ปรับ บทลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับ ที่ 4) พ.ศ. 2535 มาตรา 30 และ ให้ ลงโทษ ปรับจำเลย อีก สถาน หนึ่ง เป็น เงิน 5,000 บาท จำเลย ให้การรับสารภาพเป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คง ปรับ 2,500 บาท โทษ จำคุก ของ จำเลย ให้ รอการลงโทษไว้ มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 จำเลย ไม่ชำระค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 และ ให้คุม ความประพฤติ ของ จำเลย ไว้ มี กำหนด 1 ปี โดย ให้ ไป รายงาน ตัวต่อ พนักงานคุมประพฤติ ทุก ระยะ 3 เดือน นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไปตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share