คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยติดต่อผู้เสียหายให้หาซื้อโคให้เมื่อจำเลยขายโคได้แล้วจะนำเงินค่านายหน้าและค่าโคมาชำระให้ผู้เสียหายซื้อโคได้แล้วมอบให้จำเลยไปจำเลยไม่นำเงินค่านายหน้าและค่าโคมาชำระเมื่อถูกจับกุมก็ให้การว่าได้ชำระเงินให้ผู้เสียหายจนครบถ้วนแล้วเห็นได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะซื้อโคอย่างแท้จริงแต่ได้วางแผนหลอกลวงผู้เสียหายกับพวกมาตั้งแต่ต้นโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจะซื้อแต่ความจริงจำเลยมิได้มีเจตนาจะซื้อและชำระราคาโคจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า นาย ประครอง ผู้เสียหาย มอบ โค ให้ จำเลย นำ ไป ขายโดย จำเลย จะ นำ เงิน ค่า ขาย โค มา มอบ ให้ ผู้เสียหาย แต่ จำเลยเบียดบัง เงิน ค่า ขาย โค ดังกล่าว เป็น ของ ตน โดย ทุจริต ขอ ให้ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคาโค แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฟ้อง ให้ ลงโทษ ฐาน ยักยอก ทาง พิจารณาได้ ความ ว่า การ กระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ศาล ลงโทษจำเลย ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ใน ทาง พิจารณา ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 พิพากษา ว่า จำเลย มีความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ลงโทษ จำคุก กับ ให้ คืน โคหรือ ใช้ ราคา แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า คดี ไม่ ได้ ความ ว่า จำเลย ได้ ใช้ อุบายหลอกลวง ผู้เสียหาย อย่างไร การ ที่ จำเลย รับ โค ไป แล้ว ไม่ ชำระราคา อ้าง ว่า ได้ ชำระ ราคา ให้ แล้ว นั้น เป็น ปัญหา เกี่ยวกับ ว่าจำเลย ผิด สัญญา หรือไม่ ยัง ฟัง ไม่ ได้ ว่า จำเลย ตั้งใจ จะ ไม่ ชำระหนี้ มา ตั้งแต่ ต้น โดย ไม่ คิด ที่ จะ ซื้อ และ ชำระ ราคา โค แต่ต้องการ จะ ได้ โค ไป จาก ผู้เสียหาย อัน จะ เป็น ความผิด ฐาน ฉ้อโกงพิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ได้ ติดต่อ นาย ประครอง ผู้เสียหายให้ หา ซื้อ โค ให้ เมื่อ จำเลย ขาย โค ได้ แล้ว จะ นำ เงิน ค่านายหน้าและ ค่า โค มา ชำระ ให้ ผู้เสียหาย ซื้อ โค ได้ 47 ตัว ราคา 288,600บาท มอบ ให้ จำเลย ไป แล้ว จำเลย ไม่ นำ เงิน ค่า นายหน้า และ ค่า โคมา ชำระ เมื่อ ถูก จับกุม ก็ ให้การ ว่า ได้ ชำระ เงิน ให้ ผู้เสียหายครบถ้วน แล้ว เห็นว่า จำเลย ต้องการ จะ ได้ โค จำนวน มาก จึง ไป หาผู้เสียหาย ให้ ติดต่อ ซื้อ โค มา ขาย ให้ จำเลย เมื่อ ผู้เสียหายกับพวก ได้ ติดต่อ กับ เจ้าของ โค ให้ นำ โค มา ขาย ให้ จำเลย ไม่ ได้สนใจ เกี่ยวกับ วิธีการ ซื้อขาย คือ ไม่ ได้ ดู โค ว่า แต่ ละ ตัวมี ขนาด ลักษณะ สมบูรณ์ เหมาะสม กับ ราคา หรือไม่ และ ไม่ ได้ ทำบันทึก หรือ บัญชี ว่า โค ตัวใด ราคา เท่าไร ไว้ แม้ ผู้เสียหาย จะได้ ดู บัญชี และ ราคา โค ก็ ดู เพียง ผิวเผิน ไม่ ได้ ลงชื่อ รับทราบ หรือ ทำ หลักฐาน ให้ ผู้เสียหาย เมื่อ เห็น ว่า ผู้เสียหายจัดการ ให้ เจ้าของ โค นำ โค มา ที่ บ้าน ผู้เสียหาย ตาม ที่ ต้องการแล้ว ก็ เอา รถ บรรทุก โค ไป เลย และ หลังจาก นั้น จำเลย ไม่ ได้ติดต่อ กับ ผู้เสียหาย กับพวก อีก แม้ ผู้เสียหาย กับพวก ได้ พยายามตาม หา ก็ หลบหลีก ไม่ ยอม ให้ พบ จน ต้อง แจ้งความ ต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อ ถูก จับ ได้ กลับ ให้การ ว่า ได้ ชำระ ค่า โค เรียบร้อยแล้ว พฤติการณ์ ดังกล่าว แสดง ว่า จำเลย มิได้ มี เจตนา จะ ซื้อ โคอย่าง แท้จริง แต่ ได้ วาง แผน หลอกลวง ผู้เสียหาย กับพวก มา ตั้งแต่ต้น โดย การ แสดง ข้อความ อัน เป็น เท็จ ว่า จะ ซื้อ แต่ ความจริงจำเลย มิได้ มี เจตนา ที่ จะ ซื้อ และ ชำระ ราคา โค ด้วย การ หลอกลวงดังกล่าว จำเลย ได้ โค จำนวน 47 ตัว ราคา 288,600 บาท ไป การ กระทำของ จำเลย จึง เป็น ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา341
พิพากษา กลับ ให้ บังคับ คดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น.

Share