คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้เป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีกครั้งตามเช็ค7ฉบับที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้รวมเป็นเงิน306,000บาททั้งๆที่หนี้เงินกู้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก็ยังไม่ชำระถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยที่วิญญูชนจะพึงกระทำโดยเฉพาะเมื่อเช็คฉบับแรกถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่นำเงินมาใช้เพื่อนำเช็คกลับคืนไปตามที่ตกลงไว้เจ้าหนี้ยังยอมให้ลูกหนี้กู้ยืมเพิ่มไปอีกโดยวิธีการออกเช็คเพิ่มเติมเรื่อยไปถึง7ฉบับทั้งนี้โดยไม่มีหลักประกันในการกู้และเจ้าหนี้เพิ่งนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินพร้อมกันก่อนลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายไม่ถึง2เดือนซึ่งเจ้าหนี้ทราบดีอยู่แล้วว่าลูกหนี้ได้ปิดบัญชีกับธนาคารแล้วทั้งในขณะนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่ลูกหนี้กำลังยักย้ายทรัพย์หลบหนีเจ้าหนี้พฤติการณ์เห็นได้ชัดว่าหนี้ตามเช็ค7ฉบับเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง พิทักษ์ ทรัพย์ ลูกหนี้ เด็ดขาด เมื่อ วันที่17 มีนาคม 2523 เจ้าหนี้ ราย ที่ 2 ยื่น คำขอ รับ ชำระหนี้ เงินกู้70,800 บาท และ ขอ รับ ชำระหนี้ ตาม เช็ค อีก 7 ฉบับ รวม เป็น เงินทั้งสิ้น 376,800 บาท ปรากฏ ว่า ไม่ มี เจ้าหนี้ ราย อื่น โต้แย้งส่วน ลูกหนี้ หลบหนี
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ ทรัพย์ สอบสวน แล้ว ทำ ความเห็น ว่า ควร อนุญาตให้ เจ้าหนี้ ราย ที่ 2 ได้ รับ ชำระหนี้ เฉพาะ เงินกู้ 70,800 บาทส่วน หนี้ ตาม เช็ค 7 ฉบับ เป็น เงิน 306,000 บาท เป็น หนี้ ที่เจ้าหนี้ ยอม ให้ ลูกหนี้ กระทำ ขึ้น เมื่อ เจ้าหนี้ ได้ รู้ ถึงการ ที่ ลูกหนี้ มี หนี้สิน ล้น พ้น ตัว จึง ขอ รับ ชำระ ไม่ ได้ ตามมาตรา 94(2) แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ได้ รับ ชำระ หนี้ เพียง บางส่วนตาม ความเห็น ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ ราย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
เจ้าหนี้ ราย ที่ 2 ฎีกา
‘คดี มี ปัญหา ใน ชั้นฎีกา เฉพาะ หนี้ ตาม เช็ค 7 ฉบับ รวม เป็น เงิน306,000 บาท
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘คดี มี ปัญหา ใน ชั้น ฎีกา เฉพาะ หนี้ ตาม เช็ค7 ฉบับ รวม เป็น เงิน 306,000 บาท ซึ่ง เจ้าหนี้ อ้าง ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ใน การ สอบสวน ว่า ลูกหนี้ มา ยืม เงิน เจ้าหนี้ ไปเพื่อ ปิด บัญชี กับ ธนาคาร โดย ออก เช็ค ให้ เจ้าหนี้ ไว้ เมื่อลูกหนี้ นำ เงิน มา ใช้ คืน ให้ เจ้าหนี้ เมื่อไร เจ้าหนี้ ก็ จะ คืนเช็ค ให้ ไป เช็ค ทั้ง 7 ฉบับ ที่ ขอ รับ ชำระหนี้ ล้วน เป็น เช็ค ที่เกิดจาก การ ที่ ลูกหนี้ มา ยืม เงิน ไป จาก เจ้าหนี้ ทั้งสิ้น คำให้การของ เจ้าหนี้ มี อยู่ ดังนี้ ศาลฎีกา เห็น ว่า ก่อน ที่ เจ้าหนี้ จะยอม ให้ ลูกหนี้ เป็น หนี้ ตาม เช็ค 7 ฉบับ นี้ ปรากฏ ว่า ลูกหนี้เป็น หนี้ เงิน กู้ เจ้าหนี้ อยู่ ก่อน แล้ว 70,800 บาท ตาม หนังสือสัญญากู้ ลง วันที่ 8 กันยายน 2521 ซึ่ง ถึง กำหนด ใช้ คืน ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2522 ลูกหนี้ ก็ ยัง ไม่ ใช้ การ ที่ เจ้าหนี้ ยอม ให้ลูกหนี้ เป็น หนี้ เพิ่มขึ้น มา อีก ถึง 7 ครั้ง ตาม เช็ค 7 ฉบับ ที่ขอ รับ ชำระ หนี้ คือ เช็ค ลง วันที่ 9, 12, 16, 17, 23, 25 สิงหาคม2522 และ 6 กันยายน 2522 รวม เป็น เงิน ทั้งสิ้น 306,000 บาท นั้นเป็น เรื่อง ผิด ปกติ วิสัย ที่ วิญญูชน จะ พึง กระทำ โดยเฉพาะ เมื่อเช็ค ฉบับ แรก ถึง กำหนด แล้ว ลูกหนี้ ไม่ นำ เงิน มา ใช้ เพื่อ นำเช็ค กลับ คืน ไป ตาม ที่ ตกลง ไว้ เจ้าหนี้ ก็ ยัง กลับ ยอม ให้ลูกหนี้ กู้ยืม เพิ่ม ไป อีก โดย วิธี ออก เช็ค เพิ่มเติม เรื่อย ไปถึง 7 ฉบับ ทั้ง ที่ หลักประกัน ใน การ กู้ แต่ อย่างใด ก็ หา มี ไม่และ เจ้าหนี้ ก็ เพิ่ง จะ นำ เช็ค เหล่านั้น ไป เรียก เก็บ เงิน จากธนาคาร พร้อม กัน เมื่อ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2522 อัน เป็น เวลา ก่อนลูกหนี้ ถูก ฟ้อง ล้มละลาย เพียง ไม่ ถึง สอง เดือน ซึ่ง เจ้าหนี้ ก็ทราบ ดี อยู่ แล้ว ว่า ลูกหนี้ ได้ ปิด บัญชี กับ ธนาคาร อยู่ ก่อนแล้ว ทั้ง ขณะ นั้น ก็ เป็น ช่วง เวลา ที่ ลูกหนี้ กำลัง ปิด ร้านยักย้าย ทรัพย์ หลบหนี เจ้าหนี้ พฤติการณ์ เห็น ได้ ชัด ว่า หนี้ ตามเช็ค 7 ฉบับ นี้ เป็น หนี้ ที่ เจ้าหนี้ ยอม ให้ ลูกหนี้ กระทำ ขึ้นเมื่อ เจ้าหนี้ ได้ รู้ ถึง การ ที่ ลูกหนี้ มี หนี้สิน ล้น พ้น ตัวศาลล่าง ทั้ง สอง ยก คำขอ รับ ชำระหนี้ ตาม เช็ค 7 ฉบับ นี้ ชอบ แล้วฎีกา ของ เจ้าหนี้ ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน ค่า ฤชาธรรมเนียม ชั้น ฎีกา ให้ เป็น พับ’

Share