คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

คดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมโดยมิได้เรียกร้องค่าจ้างหรือค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างซึ่งโจทก์สามารถเรียกร้องมาในคราวเดียวกันได้การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อเรียกค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยมูลฐานเดียวกันกับคดีก่อนจึงเป็นฟ้องซ้ำ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง สำหรับ ระยะ เวลา ตั้งแต่ วันเลิกจ้าง ถึง วัน รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำของ จำเลย ต่อมา วันที่ 16 สิงหาคม 2526 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โจทก์จึง ฟ้อง จำเลย ต่อ ศาลแรงงานกลาง กล่าวหา ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ไม่ เป็น ธรรม ขอ ให้ จำเลย รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ตาม เดิมศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ใน ตำแหน่งหน้าที่ และ อัตรา ค่าจ้าง เท่าเดิม จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา ศาลฎีกาพิพากษา ยืน คดี ถึง ที่สุด ครั้น วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 จำเลยรับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ตาม คำพิพากษา แต่ จำเลย ไม่ จ่าย ค่าจ้างสำหรับ ระยะ เวลา ตั้งแต่ วัน เลิกจ้าง ถึง วัน รับ โจทก์ กลับ เข้าทำงาน โจทก์ จึง ฟ้อง เรียก ค่าจ้าง สำหรับ ระยะ เวลา ดังกล่าว จากจำเลย เป็น คดี นี้
และ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า การ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ไม่ เป็นธรรมนั้น นอกจาก จะ เป็น มูลฐาน ก่อ ให้ เกิด สิทธิ แก่ โจทก์ ที่ จะ ฟ้องจำเลย ให้ รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงาน ตาม เดิม แล้ว ยัง ก่อ ให้ เกิดสิทธิ แก่ โจทก์ ที่ จะ เรียกร้อง ค่าจ้าง หรือ ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ได้ รับ ใน ระหว่าง ถูก เลิกจ้าง ด้วย สิทธิ เรียก ค่าจ้าง หรือค่าเสียหาย ของ โจทก์ นั้น จึง มี อยู่ ก่อน ที่ โจทก์ จะ ฟ้อง คดีก่อน เมื่อ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ใน คดี ก่อน ขอ ให้ จำเลย รับ โจทก์ กลับเข้า ทำงาน ตาม เดิม โดย มิได้ เรียกร้อง ค่าจ้าง หรือ ค่าเสียหาย ในระหว่าง ถูก เลิกจ้าง ซึ่ง โจทก์ สามารถ เรียกร้อง มา ใน คราว เดียว กันแต่ กลับ มา ฟ้อง เรียก ค่าจ้าง ใน ระหว่าง ถูก เลิกจ้าง จาก จำเลย เป็นคดีนี้ ซึ่ง ประเด็น ที่ จะ ต้อง วินิจฉัย ใน คดี ทั้ง สอง อาศัยมูลฐาน เดียว กัน จึง เป็น ฟ้องซ้ำ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
พิพากษา ยืน

Share