คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า’เมียผวจ.เต้นก๋าขู่ประธานสภาบุกโรงพักจวกแหลกโมโหสารภาพ’เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับและแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการบุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา41,43นั้นนอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว(คอลัมน์)และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกันคดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ลงพาดหัวข่าวในหน้า1ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน2บรรทัดและด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก1บรรทัดส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้นกลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า16ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา3สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1ที่2คนละ2,000บาทสถานเดียวจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218จำเลยที่1ที่2ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่3กระทำผิดตามฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้งสาม สมคบ กัน โฆษณา ด้วย เอกสาร หมิ่น ประมาทใส่ความ โจทก์ ใน หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ซึ่ง ล้วน แต่ เป็น ความเท็จทั้งสิ้น ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 326, 328, 332พระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4, 48
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว มี คำสั่ง ว่า คดี มี มูล ให้ประทับ ฟ้อง
จำเลย ทั้งสาม ให้การ ปฏิเสธ ระหว่าง การ พิจารณา จำเลย ที่ 3 ถึงแก่ ความตาย ศาลชั้นต้น มีคำสั่ง ให้ จำหน่าย คดี เฉพาะ จำเลย ที่ 3
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 มี ความ ผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และ พระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 4, 48 ให้ ปรับ จำเลย ทั้งสอง คนละ 2,000 บาท
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ เป็น ภรรยา นาย ปัญญา ฤกษ์อุไรผู้เคย ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการ จังหวัด ตราด หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐเป็น หนังสือพิมพ์ รายวัน พิมพ์ จำหน่าย จ่ายแจก ให้ ประชาชน ได้อ่าน ทั่ว ราชอาณาจักร โดย จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้อำนวยการ และ เจ้าของใน นาม บริษัท พลสิน จำกัด จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 3 เป็น บรรณาธิการผู้พิมพ์ โฆษณา ขณะที่ นาย ปัญญา ฤกษ์อุไร ดำรง ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด ตราด หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับที่ 7810 ปี ที่ 22 ลงวันที่10 มิถุนายน 2522 และ ฉบับที่ 7811 ปีที่ 22 ลง วันที่ 11 มิถุนายน 2522 ได้ลง พิมพ์ข่าว กล่าวถึง โจทก์ ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 1, 2 จริงดังฟ้อง แล้ว วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า คดี มี ปัญหา มา สู่ ศาลฎีกาของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ข้อแรก ว่า ข้อความ ใน หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐฉบับที่ 7810 ปี ที่ 22 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2522 เป็น ข้อความ ที่หมิ่นประมาท โจทก์ หรือไม่ ใน ปัญหา ดังกล่าว ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่าหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับนี้ พาดหัวข่าว ใน หน้า 1 ว่า เมียผู้ว่าราชการ จังหวัด เต้นก๋า ขู่ ประธานสภา บุก โรงพัก จวกแหลกโมโห สารภาพ’ เป็น ข้อความ ที่ แสดง ให้ เห็น ภาพพจน์ ของ โจทก์แสดง กิริยา กระโดด ฝ่า ขึ้น ไป บน สถานีตำรวจ ทั้ง ที่ มี ข้อห้ามโดย ไม่ เคารพ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และ แสดง อำนาจ ไม่ เกรงกลัว บุคคล ใดเข้า ไป พูด กับ ประธานสภา ด้วย กิริยา วาจา ที่ แสดง อาการ โมโห ในลักษณะ ตวาด หรือ คำราม ด้วย ถ้อยคำ ที่ ทำ ให้ ประธานสภา กลัว ว่าจะ ต้อง รับ อันตราย แก่ ร่างกาย ตน อัน เป็น กิริยา วาจา ที่ สุภาพชนไม่ พึง ทำ ทั้ง ยัง เป็น การ แสดง อำนาจ ฝ่าฝืน ข้อห้าม ข้อบังคับของ ทางราชการ บุกรุก ขึ้น ไป บน สถานีตำรวจ ซึ่ง เป็น สถานที่ ราชการโดย ไม่ มี สิทธิ กระทำ ได้ โดย ชอบ ซึ่ง การ กระทำ ของ โจทก์ ที่หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ลงข่าว นี้ ไม่ เป็น ความ จริง เห็นว่า เป็นข้อความ ที่ ใส่ความ โจทก์ โดย การ โฆษณา ด้วย เอกสาร หนังสือพิมพ์น่า จะ ทำ ให้ โจทก์ เสีย ชื่อเสียง ถูก ดูหมิ่น หรือ ถูก เกลียดชังเข้า ลักษระ ความ ผิด ฐาน หมิ่น ประมาท ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 เมื่อ ข้อความ ที่ พาดหัวข่าว หน้า 1 เป็น หมิ่น ประมาท โจทก์ดัง วินิจฉัย แล้ว ก็ ไม่ ต้อง พิจารณา ข้อความ เนื้อหา ของ ข่าว ต่อไปอีก ว่า มี ข้อความ หมิ่น ประมาท โจทก์ อีก หรือไม่ เพราะ ไม่ เป็นประโยชน์ แก่ คดี คือ ถ้า มี ข้อความ หมิ่น ประมาท โจทก์ อีก ก็เป็น ความ ผิด กรรม เดียว กัน กับ ที่ พาดดัวหข่าว คดี มี ปัญหา ต่อไปว่า ที่ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับที่ 7810 ปี ที่ 22 ลง วันที่ 11มิถุนายน 2522 ลง พิมพ์ ข้อความ ใน หน้า 16 ว่า ‘……สำหรับ กรณีข่าว ที่ ว่า นาง เลื่อน ฤกษ์อุไร ภรรยา นาย ปัญญา ฤกษ์อุไรผู้ว่าราชการ จังหวัด ตราด ได้ ขึ้น ไป พบ นาย สุรพล ประธานสภาจังหวัดตราด เมื่อ เวลา 04. น. วันที่ 9 มิถุนายน นั้น เกี่ยวกับเรื่อง นี้ พลตำรวจตรี ณรงค์ อัลภาชน์ รองผู้บัญชาการ ตำรวจ สอบสวนกลางได้ สั่ง เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ที่ เกี่ยวข้อง ทำ การ สอบสวน เนื่องจากเป็น การ ขึ้น ไป เยี่ยม ผู้ต้องหา ไม่ ใช่ เวลา เยี่ยม ซึ่ง จากการ สอบสวน ปากคำ นาย สุรพล พาทีทิน บอกว่า ตาม วัน เวลา ดังกล่าวนาง เลื่อน ไม่ ได้ มา พบ แต่ อย่างใด………’ เป็น การ แก้ข่าวอัน เป็น การ ทำ ให้ จำเลย ไม่ ต้อง รับ ผิด และ สิทธิ การ ฟ้อง คดีของ โจทก์ ระงับ ไป ตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41,43 หรือไม่ เห็น ว่า ตาม บท กฎหมาย ที่ จำเลย อ้าง นั้น นอกจาก การแก้ข่าว จะ ต้อง ลงพิมพ์ ใน ฉบับ ที่ จะ ออก โฆษณา ถัด ไป หรือ ต่อจากเวลา ที่ ได้ รับ คำขอ ให้ แก้ข่าว แล้ว ข้อความ ที่ แก้ข่าว นั้นจะ ต้อง อยู่ ใน หน้าเดียว กับ เรื่อง อัน เป็น เหตุ ให้ แก้ โดย มีขนาด แนว (คอลัมน์) และ ตัวอักษร ใน เนื้อเรื่อง เช่นเดียว กัน สำหรับกรณี แห่ง คดี นี้ ปรากฏ ว่า ข้อความ ที่ หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ลง พิมพ์โฆษณา หมิ่น ประมาท โจทก์ ดัง วินิจฉัย แล้ว ลง พาดหัวข่าว ใน หน้า 1ด้วย ขนาด อักษร โต ที่สุด ใน หน้า นั้น จำนวน 2 บรรทัด และ ด้วย ขนาดอักษณ โต ประมาณ ครึ่งหนึ่ง ของ ขนาด อักษร โต ที่สุด ดังกล่าว อีก1 บรรทัด ส่วน ข้อความ ที่ จำเลย อ้าง ว่า เป็น การ แก้ข่าว นั้น กลับลง พิมพ์ โฆษณา ใน หน้า 16 ด้วย ขนาด อักษร ตัว เล็ก เท่า ตัว อักษรทั่วๆ ไป ที่ บรรยาย เนื้อหา ของ เรื่อง ใน หนังสือพิมพ์ นั้น จึงเป็น การ ไม่ ชอบ ด้วย พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 43สิทธิ การ ฟ้อง ของ โจทก์ ทั้ง ทาง แพ่ง และ ทาง อาญา ไม่ ระงับ ไปดัง ฎีกา ของ จำเลย คดี มี ปัญหา ข้อสุดท้าย ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2จะ ต้อง รับผิด ตาม ฟ้อง หรือไม่ ใน ปัญหา ข้อ นี้ จำเลย ยกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 4, 49 ขึ้น อ้าง และ ว่า จำเลยที่ 3 ซึ่ง เป็น บรรณาธิการ และ ผู้พิมพ์ โฆษณา ต้อง รับผิด ใน การพิมพ์ และ การ โฆษณา หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ จำเลย ที่ 1 หรือ จำเลย ที่2 มิได้ เกี่ยวข้อง ใน การ พิมพ์ และ การ โฆษณา หาก จะ รับผิด ชอบเพียง เท่าที่ ตน กระทำ โจทก์ ก็ มิได้ นำสืบ ให้ ปรากฏ ว่า จำเลยที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 ได้ สมคบ กับ จำเลย ที่ 3 กระทำ การ พิมพ์ หรือโฆษณา อย่างไร ศาล ยก เอา ข้อความ ตอน ล่างสุด ของ หน้า 16 มา ยืนยันว่า บริษัท พลสิน จำกัด จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของฯ ข้อความ เพียงบรรทัด เดียวกัน นั้นเอง ได้ ระบุ ชัดแจ้ง อีก ว่า ‘นาย สุรพลพรทวีวัฒน์ เป็น ผู้จัดการ จำหน่าย หาก จะ มี บุคคล สมคบ กับ จำเลยที่ 3 ใน การ โฆษณา คือ จำหน่าย หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ก็ คือ นาย สุรพลพรทวีวัฒน์ หา ใช่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ นั้น เห็นว่า ฎีกา ของจำเลย ดัง ยก ขึ้น กล่าว เป็น ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ ได้ สมคบ กับ จำเลย ที่ 3 กระทำ ผิด ดัง ฟ้อง คดี นี้ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม ศาลชั้นต้น ให้ ลงโทษ ปรับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 คนละ 2,000 บาท สถานเดียว จึง ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ศาลฎีกา ไม่ รับวินิจฉัย ฎีกาของ จำเลย ฟัง ไม่ ขึ้น ทุกข้อ
พิพากษายืน

Share