คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2493

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

พินัยกรรม์ที่กำหนดให้ผู้จัดการมฤดกยกทรัพย์ให้บุตรคนใดคนหนึ่งของเจ้ามฤดกนั้น ใช้ได้ตามมาตรา 1706 ข้อ 2
ผู้จัดการมฤดกหลายคนครั้งแรกได้ตกลงพร้อมกันเป็นหนังสือว่าจะยกทรัพย์ให้แก่บุตรของเจ้ามฤดกคนใดคนหนึ่งตามข้อกำหนดในพินัยกรรม์แล้ว แม้ภายหลังผู้จัดการมฤดกส่วนมากจะกลับใจยกทรัพย์ให้บุตรของเจ้ามฤดกคนอื่นอีกก็ไม่มีผลเพราะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมฤดกเสร็จแล้วตั้งแต่เมื่อตกลงกันครั้งแรก

ย่อยาว

ความว่า พ. ได้ทำพินัยกรรม์ตั้งให้นายนุ่น, นางพวง นางพัน และนางอุยจำเลยเป็นผู้จัดการมฤดก และพินัยกรรม์ข้อ ๓ มอบอำนาจให้จำเลยทั้ง ๔ พิจารณาว่าควรจะยกที่ดิน ๓ แปลงของ พ. ให้แก่บุตรคนใดคนหนึ่งที่เห็นควร ชั้นแรกจำเลยทั้ง ๔ ได้ตกลงกันเป็นหนังสือให้ยกที่พิพาท ซึ่งเหลือ ๒ แปลงให้แก่นายปริญญาบุตรโจทก์ต่อมานายอุย, นางพวง นายพันจำเลยกลับใจใหม่เห็นว่าควรยกให้นายปริญญาและบุตรนางจิ้มลิ้มคนละครึ่ง นายนุ่นคนเดียวคงเห็นดังเดิม โจทก์ฟ้องให้โอนที่ดิน ๒ แปลงให้โจทก์ นายนุ่น จำเลยรับตามฟ้อง ส่วนจำเลยอีก ๓ คนให้การว่าควรแบ่งมฤดกตามความเห็นข้างมาก และอื่น ๆ หลายประการ
ศาลชั้นต้นเห็นว่า การตกลงทั้ง ๒ ครั้งยังไม่เด็ดขาดยังไม่ได้โอนทะเบียน พินัยกรรมไม่มีผลในกฎหมายต้องห้ามตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา ๑๗๐๖ ข้อ ๓ นางจิ้มลิ้มผู้แทนบุตร ๓ คนไม่ได้ฟ้องแย้ง จึงไม่มีประเด็นวินิจฉัย พิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พินัยกรรม์ข้อ ๓ ต้องตามมาตรา ๑๗๐๖ ข้อ ๒ เมื่อยังไม่โอนกรรมสิทธิผู้จัดการย่อมกลับใจได้ การตกลงครั้งแรกเท่ากับสัญญาว่าจะยกให้ซึ่งยังไม่สมบูรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฏีกาเห็นว่าพินัยกรรม์ใช้ได้ตามมาตรา ๑๐๗๐๖ ข้อ ๒ แห่งข้อยกเว้นดังศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่เรื่องนี้จำเลยทั้ ๔ คนได้เห็นชอบพร้อมกันแล้วว่านายปริญญาเป็นผู้สมควรได้ที่ดินทั้งหมด จึงทำหนังสือไว้เป็นหลักฐาน นับว่าได้ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้จัดการมฤดกไปตามพินัยกรรม์เสร็จแล้ว จำเลยบางคนจะกลับใจเปลี่ยนใจอีกไม่ได้ต้องถือตามนิติกรรมที่จำเลยทำไว้ พิพากษากลับให้ที่ดิน ๒ แปลงเป็นของนายปริญญา โจทก์

Share