คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2479

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

+ในศาลชั้นต้นในฐานะ+ที่ปรึกษากฎหมายแล้ว+พิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ในฐานะผู้พิพากษา+หาต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลพิจารณาแพ่ง ม.11 ข้อ 5 ไม่ การยกที่ดินให้แก่กันโดย+เสนหา โดยทำหนังสือ+จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหนี้นั้น จะนำพะยานบุคคลมาสืบว่าผู้ให้ยังสงวนเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิไว้หาได้ไม่ ต้องกลับด้วยข้อห้ามตามประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.94 (ข) สามีเป็นลูกหนี้เขาแล้วภรรยาโอนทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสให้ผู้อื่น โดยเป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบดังนี้ เจ้าหนี้ขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม ม.237 โดยถือว่าภรรยาตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมด้วย

ย่อยาว

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ ๑ ตามคำพิพากษา จำเลยที่ ๒ เป็นภรรยาจำเลยที่ ๑ ได้โอนที่ดินโฉนดที่ ๒๔๒๒ ซึ่งเป็นสินสมรสให้แต่จำเลยที่ ๓ ผู้เป็นมารดาเพื่อไม่ให้ถูกยึด โจทก์จึงฟ้องขอให้ทำลายนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ ๒ แลที่ ๓
จำเลยต่อสู้ว่า ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นของจำเลยที่ ๓ ทำสัญญาโอนให้แก่จำเลยที่ ๒ โอนมีเงื่อนไขว่าถ้าจำเลยที่ ๒ ไม่ตายต้องโอนคืน ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ ๓ ไม่ตาย จำเลยที่ ๒ จึงโอนคืนให้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า คดีไม่ได้ความว่าได้มีการโอนกันโดยสมยอมเพื่อฉ้อโจทก์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยสืบพะยานบุคคลในข้อที่ได้มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.๙๔(ข) แลฟังว่าได้มีการโอนกันโดยรู้ว่าจำเลยที่ ๑ เป็นหนี้โจทก์ จึงพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยที่ ๒ และ ๓
จำเลยฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นโมฆะด้วยนายเลมิงผู้พิจารณาคดีชั้นศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาคดีในศาลแพ่งแผนกพิเศษแล้ว แลว่าศาลอุทธรณ์แปล ม.๙๔ แห่งประมวลวิธีพิจารณาแพ่งไม่ถูกต้อง กับว่าตามมาตรา ๒๓๗ ถือว่าลูกหนี้คือจำเลยที่ ๑
ศาลฎีกาเห็นว่า ในศาลแพ่งแผนกพิเศษนายเลมิงมิได้นั่งพิจารณาในฐานะผู้พิพากษา แต่ได้นั่งในฐานะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่เข้าบทบัญญัติมาตรา ๑๑ ข้อ ๕ แห่งประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง
แลเห็นว่าการยกให้โดยเสนหานี้ต้องทำเป็นหนังสือแลจดทะเบียน ถ้าหากว่าจำเลยที่ ๓ สงวนสิทธิที่จะเรียกคืนข้อสัญญาเหล่านี้ก็ต้องรวมอยู่ในหนังสือที่ทำไว้ เห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ที่ถือว่า ม.๙๔ (ข) ห้ามไม่ให้นำพะยานบุคคลมาบังคับแก่คดีนี้
ส่วนข้อที่ว่าตาม ม.๒๓๗ ต้องถือว่าลูกหนี้คือจำเลยที่ ๑ นั้น เห็นว่าจำเลยที่ ๑ แลที่ ๒ เป็นสามีภรรยากัน เป็นหนี้ร่วมซึ่งจำเลยที่ ๒ ต้องรับผิดชอบด้วยจำเลยที่ ๒ ก็อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share