คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2497

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คำว่า ” ผู้สืบสันดาน ” นั้นประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ม.5 (2) มิได้จำกัดความไว้อย่างใด ดังนั้นย่อมหมายถึงผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง
ในคดีที่อัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา มารดาในฐานะผู้ปกครองบุตรนอกสมรสของผู้ตายมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและศาลมีอำนาจสั่งให้ใต่สวนได้

ย่อยาว

คดีนี้อัยการฟ้องว่าจำเลยสมคบกันฆ่านายเจริญ นางทองดงในฐานมารดาผู้ปกครอง ด.ญ.จารึก ด.ญ.บุญยืน ด.ญ.ระยอง ด.ช.วินัย ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยอ้างว่านางทองคงเป็นภรรยานายเจริญมาประมาณ ๑๒ ปีแล้ว แต่มิได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรด้วยกัน ๔ คนนี้
ศาลชั้นต้นเห็นว่าเด็กทั้ง ๔ คนนี้เป็นบุตรรไม่ชอบด้วย ก.ม.ไม่มีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม จึงสั่งไม่อนุญาต
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลจังหวัดเห็นว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจึงไม่รับเป็นอุทธรณ์
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลจังหวัดที่ไม่รับอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นให้จัดการไต่สวนแล้วสั่งใหม่ตามรูแคดี
แต่ผู้พิพากษานายหนึ่งมีความเห็นแย้งว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการในขณะนี้ เว้นแต่จะได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วย ก.ม.ตาม ป.พ.พ.ม. ๑๕๒๖ และ ๑๕๒๔ ส่วน ม.๑๖๒๗ บัญญัติขึ้นให้บุตรนอกสมรสที่บิดาได้รับรองแล้วโดยพฤติการณ์มีสิทธิรับมรดกได้เท่านั้นเห็นควรพิพากษายืน
จำเลยฎีกา
โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นว่าคำว่า ” ผู้สืบสันดาน ” หมายถึงผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง เพราะ ก.ม.มาตรานี้มิได้บัญญัติความจำกัดไว้ประการใด
พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้ยกฎีกาจำเลย

Share